สวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย

เริ่มต้นประเด็นโดย: อ.ดร.นารีรัตน์ กิติศรีปัญญา, nareerat_k@hotmail.com, Mon, 13 กันยายน,2010 8:20 pm

(แตกประเด็นมาจากประกาศสภา 9 กันยายน 2553)

สวัสดีค่ะ เพื่อนเครือข่าย

มีเรื่องอยากจะ ฝากให้ช่วยกันคิด เกี่ยวกับกองทุนสวัสดิการ เวลาพ่อ แม่ลูกป่วย ว่ามีความคืบหน้าอย่างไร

จริงๆ อยากให้เพิ่มจากปีละไม่เกิน 50,000 บาท เป็นปีละ 100,000 บาท และสามารถสะสมได้ สูงสุด 200,000 บาท เนื่องจากว่า อนาคต ค่ารักษาพยาบาล ของ พ่อ แม่ ลูก หากเกิดอะไรขึ้น บุคลากรม.เกษตรศาสตร์ ก็ยังมีขวัญและกำลังใจที่ดี (ซึ่งจริงๆ คงไม่มีใครอยากใช้สวัสดิการอันนี้หรอกนะค่ะ)   ตอนนี้ค่าครองชีพก็สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็มากขึ้น

การมีสวัสดิการด้านรักษาพยาบาล ที่ดี น่าจะเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนต้องการ  และหากรัฐบาลปรับเปลี่ยนเป็นรัฐสวัสดิการ เลียนแบบ ตะวันตก  ม.เกษตรศาสตร์ ของเราค่อยปรับรูปแบบ ก็ได้

ที่รามคำแหง ให้เบิกได้ไม่เกินปีละ 100,000 บาท  (สำหรับพนักงานของรัฐ)  ถ้าท่านผู้บริหารอ่านเจอ อย่าบอกให้ลาออกแล้วไปสมัครงานที่ม.รามคำแหง นะ Smile

อยากให้ที่ม.เกษตร ทบทวน เรื่องนี้จัง  (ส่วนตัวแล้วไม่มีโอกาสเบิกแน่นอน พ่อเสียแล้ว แม่ก็ใช้สิทธิพี่น้องเป็นข้าราชการ ลูกก็คงไม่มี) แต่ว่า  บางคนเค้าก็เดือนร้อนจริงๆ ไม่อยากให้กฏระเบียบของม.  ออกมาแล้วทำให้บุคลากร เสียขวัญ เพราะทุกวันนี้ ก็ขวัญหนีดีฝ่อ กันเยอะแล้ว อุ อุ อุ

อย่างไรก็ตาม ร่างกาย จิตใจ แข็งแรง แจ่มใส ดีที่สุด เราก็ดูแล ครอบครัวตัวเองดีๆ
ตั้งใจทำหน้าที่ ทำงานให้เต็มที่ โดยใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ที่สุด  คาดว่า ม.ของเราก็จะ รวยขึ้นเอง และปรับเปลี่ยนนโยบายในการ ช่วยเหลือ

ก็ขอเป็นกำลังใจให้ วันพรุ่งนี้ทุกๆ ท่านเจอแต่เรื่องที่ดี และอย่าลืมทำวันนี้ให้ดีที่สุด


ตอบคนที่ 1: อ.ดร.เจษฎา ภัทรเลอพงศ์, csnjdp@ku.ac.th, Tue, 14 กันยายน,2010 9:37 am

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเพิ่มเงินสวัสดิการ เป็นปีละ 100,000 และสะสมได้ถึง 200,000 เพราะเราทุกคนถูกหักเงินทุกเดือนเพื่อเข้ากองทุนนี้ ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาดเงินที่เราได้คือ 1.7 เท่าของข้าราชการ แต่เรารับจริงในขณะนี้ อยู่ที่ 1.5 เท่า หายไป 0.2 เท่า
หากท่านได้รับเงินเดือน 15,000 บาท จะมาจากฐานเงินเดือนข้าราชการ 10,000 บาท ดังนั้นท่านจะถูกหักเข้ากองทุนสวัสดิการ เท่ากับเดือนละ 2,000 บาท หรือปีละ 24,000 บาท
หากท่านไม่ได้เบิกเลย 3 ปี จะรวมเป็นเงินที่ถูกหักไปรวมเท่ากับ 72,000 บาท แต่ถ้าท่านบังเอิญป่วยหนักในปีที่ 3 ท่านจะเบิกได้เพียง 50,000 บาท ทำไมเรื่องมันจึงน่าเศร้าขนาดนี้
เมื่อถามอย่างนี้ไปผู้บริหารก็ตอบว่ากฎเกณฑ์การหักเงินเข้ากองทุนสวัสดิการนี้ตั้งขึ้นมาก่อนเมื่อเราเข้ามาทำงานหมายถึงว่ายอมรับกฎเกณฑ์นี้ (แต่ไม่ใช่จำกัดห้าหมื่นที่ตั้งขึ้นมาภายหลัง) เงินที่หักเข้าไปไม่ได้ใช้ให้เบิกทั้งหมดยังนำไปให้เป็นค่าตำแหน่งทางวิชาการด้วย (หากอยากได้คืนต้องรีบขอตำแหน่งทางวิชาการ)
ผู้ใหญ่ยังบอกว่าตอนนี้เงินยังพออยู่แต่หากพวกเราทุกคนมีตำแหน่งทางวิชาการเงินส่วนนี้จะไม่พอจ่าย มหาวิทยาลัยต้องหาเงินมาช่วย
ผมมองในแง่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เงินประจำตำแหน่งน่าจะเป็นเงินเพิ่มให้กับพนักงานที่มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ควรจะเป็นเงินสมทบที่มาจากทางอื่นไม่ใช่เงินของพนักงานเอง
หากท่านผู้บริหารกลัวว่าจะบริหารยากก็คืนมาเต็มๆ เถอะ ให้เราไปบริหารกันเองดีกว่า ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านก็มีประกันชีวิตกันอยู่แล้ว ประกันสังคมก็มี พ่อแม่ก็มี 30 บาท รักษาทุกโรค ลูกรัฐบาลก็เพิ่มเงินช่วยเหลือทางการศึกษาแล้ว โตขึ้นก็กู้ยืมเรียนเอา นับวันยิ่งเบิกได้น้อย

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการเพิ่มเงินสวัสดิการ เป็นปีละ 100,000 และสะสมได้ถึง 200,000 เพราะเราทุกคนถูกหักเงินทุกเดือนเพื่อเข้ากองทุนนี้ ถ้าข้อมูลไม่ผิดพลาดเงินที่เราได้คือ 1.7 เท่าของข้าราชการ แต่เรารับจริงในขณะนี้ อยู่ที่ 1.5 เท่า หายไป 0.2 เท่า

หากท่านได้รับเงินเดือน 15,000 บาท จะมาจากฐานเงินเดือนข้าราชการ 10,000 บาท ดังนั้นท่านจะถูกหักเข้ากองทุนสวัสดิการ เท่ากับเดือนละ 2,000 บาท หรือปีละ 24,000 บาท

หากท่านไม่ได้เบิกเลย 3 ปี จะรวมเป็นเงินที่ถูกหักไปรวมเท่ากับ 72,000 บาท แต่ถ้าท่านบังเอิญป่วยหนักในปีที่ 3 ท่านจะเบิกได้เพียง 50,000 บาท ทำไมเรื่องมันจึงน่าเศร้าขนาดนี้ เมื่อถามอย่างนี้ไปผู้บริหารก็ตอบว่ากฎเกณฑ์การหักเงินเข้ากองทุนสวัสดิการนี้ตั้งขึ้นมาก่อนเมื่อเราเข้ามาทำงานหมายถึงว่ายอมรับกฎเกณฑ์นี้ (แต่ไม่ใช่จำกัดห้าหมื่นที่ตั้งขึ้นมาภายหลัง) เงินที่หักเข้าไปไม่ได้ใช้ให้เบิกทั้งหมดยังนำไปให้เป็นค่าตำแหน่งทางวิชาการด้วย (หากอยากได้คืนต้องรีบขอตำแหน่งทางวิชาการ)
ผู้ใหญ่ยังบอกว่าตอนนี้เงินยังพออยู่แต่หากพวกเราทุกคนมีตำแหน่งทางวิชาการเงินส่วนนี้จะไม่พอจ่าย มหาวิทยาลัยต้องหาเงินมาช่วย ผมมองในแง่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย เงินประจำตำแหน่งน่าจะเป็นเงินเพิ่มให้กับพนักงานที่มีผลงานทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง ควรจะเป็นเงินสมทบที่มาจากทางอื่นไม่ใช่เงินของพนักงานเอง หากท่านผู้บริหารกลัวว่าจะบริหารยากก็คืนมาเต็มๆ เถอะ ให้เราไปบริหารกันเองดีกว่า ผมเชื่อว่าหลายๆ ท่านก็มีประกันชีวิตกันอยู่แล้ว ประกันสังคมก็มี พ่อแม่ก็มี 30 บาท รักษาทุกโรค ลูกรัฐบาลก็เพิ่มเงินช่วยเหลือทางการศึกษาแล้ว โตขึ้นก็กู้ยืมเรียนเอา นับวันยิ่งเบิกได้น้อย



ตอบคนที่ 2: อ.ยุวดี หิรัญ, ju130@yahoo.com, Tue, 14 กันยายน,2010 9:50 am

เห็นด้วยค่ะ ประสบการณ์ส่วนตัวนะคะ เวลาจะเบิกก็เบิกยากมาค่ะ

อย่างตัวเองไปนอนโรงบาลมาขอเบิกค่าห้องส่วนเกินที่บอกว่าเบิกได้ เค้าต้องขอใบรับรองว่าประกันสังคมจ่ายให้แค่ 150 แล้วเราจ่ายส่วนเกินจริงๆไปห้าร้อยกว่าบาท เพราะเค้าจะจ่ายให้ค่าห้องไม่เกินหกร้อยต่อคืน  ให้ไปหาเอกสารมาเพิ่ม

เราเลยไปเบิกประกันชีวิตตัวเองดีกว่าไม่เรื่องมากอาทิตย์สองอาทิตย์ก้อได้เงินคืนแล้ว

ถ้าทางมหาลัยคิดว่าไม่คุ้มก้อเอามาคืนให้เราไปซื้อประกันดีกว่าไหมคะ

จ่ายเข้ากองทุนปีละสองหมืนกว่าอยู่มาแปดปีก้อเกือบสองแสนแล้วจ้า

ที่เบิกไปรวมๆกันแล้วน่าจะไม่เกินสองหมืนเห็นจะได้

ถ้าบอกว่าเบิกได้ห้าหมื่น แล้วเงินกองทุนนี้ใช้จ่ายอะไรไปบ้างน่าจะมาแจกให้ดูกันว่าไม่พอจริง ดีกว่าไหมคะ


ตอบคนที่ 3: อ.เจษฎา เตชมหาศรานนท์, jediku@hotmail.com,Tue, 14 กันยายน,2010 10:21 am

ผมก็เห็นด้วยครับ ผมว่าเอาเรื่องนี้ ต่อรองกับ อธิการบดี คนใหม่ดีกว่า

หากบริหารเงินกองนี้ใหม่ตามที่พนักงานต้องการทุกท่าน ก็ได้เสียง

หากไม่ทำเรื่องเป็นหนึ่งในนโยบาย ก็อยากไปเลือกเลยครับ

เพราะเราก็เสียผมประโยชน์ต่อไปอีก 4 ปี เพราะพวกท่านๆ ได้เงินประจำตำแหน่งจากรัฐ

ส่วนพวกเลยหั่นขากันกินกันเอง แย่จังสังคมเกษตร


ตอบคนที่ 4: อ.แพทอง, paethong@hotmail.com, Tue, Sep 14, 2010 at 11:37 AM

เห็นด้วยกับอ.ยุ้ยนะค่ะ คงไม่มีใครอยากใช้สวัสดิการนี้หรอกค่ะ แต่อย่างไรเสียเราก็ต้องเผื่อวันข้างหน้าเอาไว้ ถ้าหากว่าบุคคลากรของเราใครที่จำเป็นต้องใช้ก็จะได้ใช้ เพื่อเป็นขวัญและกำลัง อยากให้ทุกท่านที่ยังมีบทบาท ในการดำเนินการ ขอให้ช่วยกันผลักดันให้ประสพความสำเร็จค่ะ


ตอบคนที่ 5: อ.ดร.อัญชสา ประมวลกิจเจริญ, daungta@hotmail.com, Tue, 14 กันยายน,2010 11:52 am

เห็นด้วยกับอ.ยุวดีนะคะ

Best regards,

Anchasa


ตอบคนที่ 6: อ.ดร.สันติ โถหินัง, powernoy@hotmail.com, Tue, 14 กันยายน,2010 1:50 pm

ส่วนเงินสวัสดิการก็ เป็น  50,000 บาทก็ได้  แต่ต้องสะสมได้ตลอดไป

ถ้าเหลือก็สะสมไปเรื่อยๆ สิ   เขาเอาเงินพวกเราไปสร้างถนนด้วยหรือเปล่า สร้างตึกก็ได้นะถ้าจะทำเพราะไม่เคยเปิดเผยตัวเลขเลย

ความคิดเห็นส่วนตัวครับ


ตอบคนที่ 7: อ.เพิ่มพล กุดจอมศรี, engsakon@hotmail.com, Wed, Sep 15, 2010 at 11:06 AM

เห็นหลายท่านแสดงความคิดเห็นเรื่องต่าง ๆ ก็อยากแสดงความคิดเห็นบ้าง…คงไม่ว่ากันนะครับ เป็นการเสนอแนะก็แล้วกัน… และไม่เป็นการโจมตีฝ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นการร่วมกันหาทางออก เพื่อให้ทุกอย่างสามารถเดินไปด้วยดี เพื่อให้ทุกคนรักองค์กรของเรา นำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และทุกคนในองค์กรก็สามารถที่จะดำเนินชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพวิถีชีวิตของสังคม เหมือนคนอื่น ๆ ในสังคม ขอคิด 3ข้อ ครับ… (กรุณาอ่านให้จบนะครับ…)

1. สวัสดิการ ผมเองไม่ก็ไม่เคยใช้เพราะผมเองเป็นข้าราชการเบี้ยหวัดบำนาญของทหารยังได้รับเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ จากกรมบัญชีกลางตลอดชีวิต แต่ผมเคยเสนอครั้งหนึ่งแล้วในการอบรม พมก. เมื่อปี 47 ที่บางเขน (ถาม อ.เด่นติศักดิ์ ได้ ขอโทษที่เอ่ยนามครับ)ว่าถ้าไม่บริหารจัดการดี ๆ พอพนักงานมากขึ้น มีครอบครัวกัน ต่างก็มีบุตร การเบิกเงินสวัสดิการต่าง ๆ ก็จะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาล อื่น ๆ แล้วสุดท้ายมหาวิทยาลัยก็จะกำหนดอัตราการเบิกสูงสุด (ซึ่งในขณะนั้นไม่มีการกำหนดเพดานสูงสุด) ซึ่งปัจจุบันก็เป็นจริง….มีการกำหนดเพดาน 50,000 บาท

เอาละ…ครับมองโลกในแง่ดี ก็เพียงหวังว่าขออย่าให้ลดต่ำกว่า50,000 บาทอีก เพราะปัจจุบันเอง ผมมองว่าการเบิกยังไม่ถึงจุดสูงสุด เพราะพนักงานส่วนใหญ่ ยังเป็นวัยหนุ่มสาว ยังไม่มีครอบครัว หรือมีครอบครัวแล้ว แต่ยังคงไม่มีบุตร การเบิกสวัสดิการต่าง ๆ ยังน้อยอยู่ แต่ถ้าอีกซัก 10 ปี ทุกคนมีครอบครัว มีบุตร การเบิกต่าง ๆ อาจจะมากกว่านี้ หลายเท่าตัว เพดานการเบิกอาจจะลดลงก็เป็นได้

ดังนั้นทางออก ผมว่าพวกเรา (มหาวิทยาลัย) น่าจะนำเงินส่วนที่หักจากพนักงาน นำมาจัดตั้งเป็นกองทุนที่สามารถหาผลกำไรได้ และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ทางมหาวิทยาลัยเองก็ควรจะสมทบด้วยส่วนหนึ่ง (เหมือนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินรายได้แต่ละปีก็ว่าไปครับ…แล้วบริหารสะสมไปเรื่อย ๆ พอกองทุนโตขึ้น การเบิกสวัสดิการต่าง ๆ ก็อาจจะได้มากขึ้น และบางทีอาจจะเหลือสำหรับจัดสวัสดิการหลังการเกษียณอายุราชการด้วยเช่นกัน…ใช่ไหม ? ครับ

2. ค่ารักษาพยาบาลจากประกันสังคม เราคงต้องหันมาย่อมรับความจริงกันนะครับ ว่าสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลนั้น ดีที่สุดคือ มีเงินจ่ายเอง ประกันชีวิต สิทธิ์ข้าราชการ  ประกันสังคม และบัตรทอง จะเห็นว่าสิทธิ์ประกันสังคมนั้นสูงกว่าบัตรทองเท่านั้นเอง หลาย ๆ ท่านคงเคยใช้สิทธิ์ประกันสังคมนะครับ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นถ้าเรามีกองทุนสวัสดิการตามข้อ 1 แล้วกำหนดใน พ.ร.บ. ให้พนักงานไม่อยู่ภายไต้กฎหมายประกันสังคม นำเงินที่ต้องส่งประกันสังคมที่หักจากพนักงานและที่มหาวิทยาลัยสมทบ เข้ากองทุนในข้อ 1 สะสมไปเรื่อย ๆ ผมว่าเราสามารถที่จะมีสิทธิ์ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ไม่ต่ำกว่าสิทธิ์ข้าราชการนะครับ… แล้ววันนั้นเราจะได้พูดเรื่องสวัสดิการได้อย่างภาคภูมิในฐานะอาจารย์มหาวิทยาลัย กับเพื่อนเราที่เป็นข้าราชการครูประถม ครูมัธยม ยังไงละครับ…..

3. บำเหน็จหลังเกษียณอายุ นี้ก็ใกล้ 30 กันยายนแล้วครับ เป็นช่วงเกษียณอายุราชการของผู้ที่มีอายุครบ 60 ปี    พนักงานวิทยาเขตเราใครจะเป็นคนแรกเอ่ย…? ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ผม ลองนึกดูนะครับอีก 20 ปีข้างหน้า จะต้องมีพนักงานวิทยาเขตของเรา ต้องเกษียณอายุราชการอย่างแน่นอน ผมเองคลุกคลีกับครูประถม สังสรรค์กันบ่อย ครูหลายคนบ่นบอกจะเกษียณอายุตุลานี้ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งจากห้าหมื่นกว่าบาทจะหายไป จะเหลือบำนาญไม่ถึงสามหมื่นบาทเครียด…!!! ผมก็หันมองกับมานึกถึงพนักงานมหาวิทยาลัยอย่างพวกเรา ๆ  ท่าน ๆ ที่ไม่มีแม้แต่บำนาญ เมื่อเกษียณอายุราชการเงินเดือนที่เคยได้ จะหายวับไปกับตาไม่เหลือสักบาท… แล้วจะไม่ยิ่งกว่าเครียดหรือ อาจบ้าไปเลย…. ดีหน่อยสำหรับผู้ที่บ้านรวยอยู่แล้ว…. แต่ถ้าลูกชาวบ้านย่านตลาดแล้ว หวังพึ่งบำนาญประกันสังคมคงไม่เกินสี่พันบาทแน่ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้สักกี่บาท เป็นสมาชิกมาเกือบแปดปียังไม่ถึงแสน ไม่ออกบวช ก็คงไปแย่งชาวบ้าน ขอเบี้ยยังชีพ 500 บาท จาก อบต. แน่ (555)

ดังนั้นทุกท่านจะต้องวางแผนการใช้จ่ายดี ๆ นะครับ เผื่อเงินไว้หลังเกษียณอายุบ้าง ไม่งันก็ลงทุนในธุรกิจที่มีความเสี่ยงต่ำ โชคดีที่เรามีแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอย่างสหกรณ์ ที่สามารถระดมเงินทุนในการประกอบอาชีพเสริมได้นะครับ อยู่แบบพอเพียง อย่าหลงระเริง อยู่อาคารบุคซะเกษียณละ (555) เดียวเกษียณไม่มีบ้านอยู่

ทางออก ผมขอเสนอให้พวกเราเอง ลดการทำโครงการต่าง ๆ ลงบ้าง เปิดสาขาวิชาเพิ่มขึ้น ช่วยกันหานิสิตตามกำลังที่สามารถรับได้ เพื่อให้เงินรายได้เพิ่มขึ้น แล้วเจียดเงินรายได้สัก 3-5% ต่อปี (ถ้าเงินรายได้ 100 ล้านบาทก็ประมาณ 3-5 ล้านบาทต่อปี) ตั้งกองทุนบำเหน็จหลังเกษียณอายุราชการ นำกองทุนไปบริหารจัดการให้ได้ดอกผล (ฝากสหกรณ์ก็ได้ครับ) อีก 20 ปี พวกเราก็จะมีเงินกองทุนเป็นร้อยล้าน สามารถจ่ายเป็นบำเหน็จหลังเกษียณอายุราชการได้ โดยเป็นเงินก้อนที่คำนวณจากอายุงาน(ปี) x เงินเดือน เดือนสุดท้าย เช่น ทำงานมา 30 ปี เงินเดือน ๆ สุดท้าย 50,000 บาท ก็เท่ากับ 30 x 50,000 = 1,500,000 บาท ซึ่งถือว่าไม่มากหรอกครับอีก 20 ปี ข้างหน้า (น้ำมันลิตรเท่าไรแล้วก็ไม่รู้…555) เห็นด้วยไหมครับ

ขอบคุณที่ทุกท่านเสียสละเวลาอ่านจนจบ…. เป็นเพียงความคิดเห็นเล็ก ๆ ที่อาจนำพาองค์กรของเราเดินต่อไปอย่างมั่นคงและภาคภูมิ ดังคำที่ว่า…กองทัพเดินได้ด้วยท้อง เมื่อท้องอิ่มทุกอย่างจะขับเคลื่อนเอง… และเราเองก็คงไม่หันกลับมาเผาบ้านเผาเมืองของเราเอง…เพื่อเรียกร้องสิ่งต่าง ๆ …แต่ขอให้พวกเราเรียกร้องแล้วเสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ ครับ…

ขอบคุณ อ.พีระ ที่สร้างเมล์นี้ขึ้นมา เพื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้สึก นึกคิด ช่วยกันเสนอครับ ช่วยกันผลักดัน ไม่สำเร็จรุ่นเรา ก็เพื่อรุ่นน้อง ๆ ไม่เป็นไร

สุดท้าย อย่าลืมสมัคร ช.พ.ค., ช.พ.ส. นะครับ เดียวอายุจะเกิน35 ก่อน

ขอคุณครับ

อ.เพิ่มพล


ตอบคนที่ 8: อ.แพทอง, paethong@hotmail.com, Wed, Sep 15, 2010 at 12:34 PM

ก็เห็นด้วยกับความคิดเห็นทั้งหมด ของอ.เพิ่มพลค่ะ
อ.แพ


3 responses to “สวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย

  1. เคยอภิปรายเรื่องนี้กับ อ.เพิ่มพลอยู่บ่อย ๆ โดยส่วนตัวเห็นด้วยว่า สวัสดิภาพ-สวัสดิการของพวกเรา..แย่กว่าครูปฐม-มัธยมจริง ๆ (สักวัน..อาจได้ข่าวว่าอาจารย์ของเราแห่ไปเรียนป.วิชาชีพครู-แล้วไปสอบบรรจุกัน) แต่เรื่องนี้พี่แกคล่องจริง ๆ นอกจากจะแสดงให้เห็นภาพได้ชัดยิ่งกว่าชัดแล้ว..ยังเสนอทางออกให้อีกด้วย..สักวันที่ผู้บริหารเป็นมืออาชีพจริง ๆ คงทำได้แน่นอนครับ..ช่วยกันระดมความคิดแล้วจับหลักการไว้ให้แน่น..พลังสร้างสรรค์มาจากพวกเราเอง..ไม่ใช่ผู้บริหารหรอกครับ

  2. พนักงานมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    แม้แต่เงินเดือนที่รัฐปรับขึ้นให้ 5% กับพนักงานมหาวิทยาลัย มก. ทางมก.ยังไม่ปรับขึ้นให้เลยนะครับ ในที่ประชุมคณบดีอนุมัติการปรับขึ้น 5% ให้กับพนักงานเงินรายได้ และลูกจ้างชั่วคราวเงินรายได้

    แล้วพนักงานเงินงบประมาณ ท่านเอาพวกเราไปไว้ที่ไหนครับ ขอร้องท่านอย่าอ้างว่าพวกเราได้รับเงินเดือนมากอยู่แล้วเลยครับ เราไม่ใช่ข้าราชการเงินเดือนขึ้นแค่ปีละครั้ง ปีนึงๆก็ขึ้นไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ผมเลยเข้าใจรุ่นน้องบางคนว่าแบบนี้เองเขาเลยลาออก คิดลาออก หรือหันไปทำอาชีพอื่นๆร่วมกับการทำงานที่นี่กันมากขึ้น อยากวอนท่านอธิการบดีช่วยมองเห็นพวกกระผมบ้างเถิดครับ อยากให้ปฏิบัติให้เสมอภาคกัน พวกกระผมก็ทำงานอย่างเต็มความสามารถมาตลอดนะครับ

  3. มีหลายอย่างที่ที่อยากทราบเหตุผล เป็นพนักงานที่มีวุฒิการศึกษาสูงกว่าตำแหน่งอย่างเช่นจบ ปวส.มาสมัคร ปวส.ได้เงินปวช.แต่พอขอปรับวุฒิบอกว่าไม่ได้เพราะสมัครใจและถามหน่อยแต่ทำไมใช้งานอย่างกับจบ ป.ตรี เงินเดือนก็ไม่ขึ้น ปรับอะไรก็ไม่ได้ ทำไมถึงไม่ไห้เงินเดือนเพิ่มขึ้นเท่ากับความสามารถบ้างล่ะ

ส่งความเห็นที่ พนักงานมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยกเลิกการตอบ